ชาวฝรั่งเศสมีคำพังเพยบทหนึ่งว่า หากใครต้องการมีความสุขถาวร ก็จงทำสวน คนที่ชอบทำสวนหลายคนคงเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ เพราะรู้ดีว่าเวลาเมล็ดพืชเล็กๆ งอก หรือเวลาต้นพืชแตกดอกแล้วออกผล ตนมีความรู้สึกเช่นไร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจที่คน หลายคนนิยมทำสวนเป็นงานอดิเรก โดยปลูกต้นไม้หรือดอกไม้ในกระถางหรือในขวด เป็นสวนขวด หรือเลี้ยงต้นไม้ในถาดเป็นบอนไซ หรือมีพื้นที่นอกบ้านมากก็ทำเป็นสวนครัว ตามตำนานที่เล่าขานกันมาต่างๆนาๆ ตามยุคตามสมัย จึงได้ข้อสรุปได้ว่า มนุษย์ได้รู้จักทำสวนมานานนับพันปีแล้ว เพราะมนุษย์ต้องการใกล้ชิดกับธรรมชาติ ต้องการสัมผัสความสวยงามของต้นไม้ ดอกไม้ และต้องการปรับปรุงธรรมชาติของต้นไม้หรือดอกไม้เหล่านั้นให้ดีขึ้น เพื่อมนุษย์จะได้มีความสุขยิ่งขึ้นไป
ประวัติความเป็นมาของส้มโอ
ส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู) มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง"แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า "กลีบ" มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1เมล็ด ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีวิตามินมาก
ส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู) มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง"แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า "กลีบ" มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1เมล็ด ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีวิตามินมาก
แหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญในประเทศไทยแต่เดิมมีสองแหล่งคือ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และบางปะกอกในเขตธนบุรี ในปัจจุบัน พันธุ์ส้มโอที่เป็นที่นิยมปลูกทางการค้าได้แก่
- พันธุ์ทับทิมสยาม เนื้อสีแดงเข้ม เหมือนสีทับทิม รสชาติหวาน หอมติดจมูก เนื้อนุ่มน่ารับประทาน เปลือกบาง สีเขียวเข้มสวย มีขนอ่อนปกคลุมทั่วผลราวกับกำมะหยี่ ปลูกที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- พันธุ์ทองดี ผลโต กลมแป้น ไม่มีจุก ที่ขั้วมีจีบเล็กน้อย รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อสีชมพู เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกที่จังหวัดนครปฐม
- พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ผลใหญ่ กลมสูง ก้นเรียบ
- พันธุ์ขาวใหญ่ เนื้อเป็นสีครีมอ่อน นิยมปลูกที่จังหวัดสมุทรสงคราม
- พันธุ์ขาวพวง ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง มีเมล็ดน้อย เป็นพันธุ์ดั้งเดิม
- พันธุ์ขาวแตงกวา ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง เนื้อสีขาว นิยมปลูกที่จังหวัดชัยนาท
- พันธุ์ท่าข่อย เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่จังหวัดพิจิตร
- พันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกมากทางภาคใต้
เรานิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ เมี่ยง ส้มตำ หรือทำของหวานเช่นแยมส้มโอ เปลือกนอกสีขาวนำไปทำเปลือกส้มโอแช่อิ่ม ส้มโอสามรส ในเวียดนามนำไปทำเต้าส่วนเปลือกส้มโอ ในฟิลิปปินส์นิยมนำเนื้อไปจิ้มเกลือ และทำน้ำผลไม้ ตามความเชื่อในพิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอถือเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญ เนื่องจากมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้ ถ้าผ่าผลส้มโอออกแล้วกลางลูกแห้ง ไม่มีน้ำจะเป็นเครื่องหมายของโชคดี สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะนำส่วนของส้มโอมาทาหน้า เชื่อว่าทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และถ้ากินส้มโอในคืนนั้นจะทำให้ตาเป็นประกายสวยงาม นอกจากนั้นยังใช้ส้มโอเป็นสัญญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ
บรรณานุกรม
สว่าง เลิศฤทธิ์. ความเป็นมาของสวน. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/garden_hist.html.
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มีนาคม 2559)
เข้าถึงได้จาก : www.th.wikipedia.org/wiki/ส้มโอ.
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มีนาคม 2559)
เข้าถึงได้จาก : www.oknation.net/blog/chawsaun/2007/09/08/entry-2.
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2559).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น